ปลูกมะกรูดในกระถาง ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ประโยชน์ และสรรพคุณมะกรูด พร้อมเเชร์ ขั้นตอนการปลูกมะกรูดในกระถางพร้อมวิธีการดูแล

ปลูกมะกรูดในกระถาง ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ประโยชน์ และสรรพคุณมะกรูด พร้อมเเชร์ ขั้นตอนการปลูกมะกรูดในกระถางพร้อมวิธีการดูแล

ปลูกมะกรูดในกระถาง ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ประโยชน์ และสรรพคุณมะกรูด ขั้นตอนการปลูกมะกรูดในกระถางพร้อมวิธีการดูแล ที่ทั้งง่ายและได้ประโยชน์หลายอย่าง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไปดูกันว่าขั้นตอนการปลูกมะกรูดต้องทำอะไรบ้าง

มะกรูด เป็นพืชตระกูลส้ม และมะนาว (Citrus family)ที่เป็นพืชพื้นเมืองในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ผล และพืชผักสมุนไพรที่นิยมปลูกไว้ตามบ้าน และสวน

เพื่อใช้สำหรับประกอบอาหาร เนื่องจาก ใบ และผล มีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมช่วยในการดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสให้แก่อาหารได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีองค์ประกอบของสารสำคัญหลายชนิดที่มีคุณสมบัติทางยา และคุณสมบัติทางด้านความสวยความงาม

อุปกรณ์

1.ผลมะกรูดแก่ ๆ หรือผลที่ร่วงอยู่ใต้ต้นในสภาพสมบูรณ์

2.อุปกรณ์ทำความสะอาดเม็ดมะกรูด มีด, ช้อน, ถาดรอง

3.แก้วพลาสติกธรรมดา

4.ถุงดำสำหรับปลูกต้นกล้า

5.กระถางดินเผา

6.ดินร่วน

7.ปุ๋ยคอก

8.กาบมะพร้าวสับ

วิธีการปลูกมะกรูด

1. นำผลมะกรูดแก่จัดหรือที่ร่วงหล่นและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาฝานออกให้เนื้อในแยกออกจากกัน โดยที่ต้องระวังไม่ให้เมล็ดมะกรูดเสียหาย ใช้ช้อนคว้านเมล็ดและคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้

2. ล้างเม็ดมะกรูดที่เตรียมไว้ด้วยน้ำสะอาด เพื่อชำระล้างผิวเคลือบลื่นให้หลุดออก

3. วางเมล็ดมะกรูดที่เราล้างสะอาดแล้วลงบนถาด เกลี่ยทั่วอย่าให้ทับกัน แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 2-4 วัน

4. เตรียมดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดีมาผสมกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก เพื่อเทลงในหลุมเพาะกล้าหรือแก้วพลาสติกที่เตรียมไว้

5. นำเมล็ดมะกรูดตากแห้งมาเพาะลงในดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป

6. ตั้งหลุมเพาะหรือแก้วเพาะไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

7. เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกขึ้นและออกใบประมาณ 3-4 ใบ ย้ายลงมาปลูกในถุงดำสำหรับเพาะต้นกล้าให้แข็งแรงและสูงประมาณ 30 เซนติเมตร

8. หลังจากที่ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ให้ย้ายมาปลูกลงในกระถางด้วยดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน คลุมหน้าดินด้วยกาบมะพร้าวสับเพื่อป้องกันความชื้นระเหย

9. มะกรูดจะออกผลให้เก็บภายใน 1-2 ปี ส่วนต้นมะกรูดที่สูงตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป สามารถนำไปประกอบอาหารได้เลย

10. หากกิ่งมะกรูดงอกยาวเกินขนาดกระถาง แนะนำขดกิ่งยาว ๆ นั้นให้เป็นวงกลมในแนวนอนและทาบลงไปบนดิน เพื่อควบคุมขนาดต้นให้เหมาะสม แถมกิ่งที่วางทาบลงไปนั้นจะงอกกิ่งกระโดงขึ้นมาใหม่ ออกใบ ออกผลให้เก็บเกี่ยวตลอดทั้งปีอีกด้วย

1. การใช้ในตำรับยา และประโยชน์ทั่วไป

น้ำมะกรูด

น้ำมะกรูดช่วยบำรุงสุขภาพเหงือก และฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณมาก โดยในประเทศไทยมีการนำน้ำมะกรูดไปใช้สำหรับเป็นยาขับ เสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน นำมาดองยารับประทานเป็นยาฟอกโลหิตสตรี ผสมกับปูนแดงทาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น มีการนำน้ำมะกรูดไปใช้เป็นยาฟอกขาวตามธรรมชาติสำหรับกำจัดคราบรอยด่าง รวมไปถึงการนำไปใช้สำหรับฆ่าทากตามพื้นดิน

ผิวมะกรูด

ผิวมะกรูดมีการนำไปใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง แก้วิงเวียนเป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้กระตุ้นและรักษาอาการปวดท้อง นอกจากนี้ ยังใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก

ในประเทศไทยมีการนำผิวมะกรูดแห้งให้แก่หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร และใช้เป็นยาเร่งประจำเดือน ส่วนประเทศอินเดียนิยมใช้ผิวมะกรูดสำหรับใช้เป็นยาฆ่าแมลงด้วย ส่วนในตำรับยาของชาวมาเลเซียมีการใช้ผลสดทั้งผลสำหรับการเตรียมยาสำหรับใช้ภายใน ซึ่งจะเป็นใบสั่งยาเกี่ยวกับโรคความเจ็บปวดในช่องท้อง และใช้เป็นยาขับลมแก้ท้องเฟ้อ

2. การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้ในหลายประเทศสำหรับใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหาร (preserve foods) และยังทำให้เกิดความอยากอาหาร

น้ำมะกรูด และผิวผลมะกรูดโดยส่วนมากจะใช้ปรับปรุงรสชาติและกลิ่นรสของอาหารในภูมิภาคเอเชีย เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย มักนิยมใช้ใบมะกรูดเพื่อกลิ่นรสที่จำเพาะ เช่น เครื่องปรุง และเครื่องดื่ม

ในประเทศไทยใช้ผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศ โดยใช้เป็นส่วนผสมของน้ำพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำไปใช้สำหรับเตรียมเป็นเครื่องดื่ม และสำหรับปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยว และดับกลิ่นคาวปลา นิยมใส่น้ำมะกรูดในปลาร้าหลน แกงส้ม แกงคั่ว ฯลฯ และมีการนำไปใช้กันมากสำหรับเป็นเครื่องปรุงเนื้อ

3. การใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

เนื่องจากมะกรูดมีสมบัติในการช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม ช่วยขจัดรังแคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ แก้คันศีรษะ และช่วยหล่อลื่นผมทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม รากผมแข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่าย

ส่วนน้ำมะกรูดมีสมบัติเป็นกรดตามธรรมชาติเหมาะสำหรับหนังศีรษะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ช่วยในการทำความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะ และช่วยในการชำระล้างคราบสบู่และแชมพู

ดังนั้นจึงนิยมนำมะกรูดไปใช้เป็นส่วนผสมสำหรับการเตรียมผลิตภัณฑ์แชมพูผสมมะกรูด

ขอบคุณข้อมูล : gurukaset.net
ขอบคุณข้อมูลจาก :

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *