แก้ไขดินลูกรังให้ปลูกพืชได้ บำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต

แก้ไขดินลูกรังให้ปลูกพืชได้ บำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต

ดินลูกรัง ถือเป็นดินที่ทำเกษตรได้ยากและคุณภาพและแร่ธาตุต่ำ เนื่องจากดินมีลักษณะแข็งทำให้พืชชอนไชรากเพื่อหาอาหารและแร่ธาตุได้ยาก มีข้อจำกัดในการปลูกพืชเยอะมากๆทีเดียว

โดยเทคนิคหลักๆของการปลูกไม้ยืนต้นด้วยดินลูกรังคือ ต้องทำการขุดหลุมให้กว้างกว่าปกติ แล้วใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุมไว้ จากนั้นให้คลุมดินและโคนต้นด้วยเศษหญ้าหรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นไว้ให้ได้มากที่สุด

แนวทางการใช้ดินลูกรังกับการเกษตร

1.ในการปลูกพืชไร่ ดินลูกรังที่มีหน้าดินหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้มีการระบายน้ำดีปานกลาง จึงไม่มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน เหมาะกับการปลูกพืชไร่ได้บางชนิด เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ถั่วลิสง รวมถึงพืชรากตื้นอื่นๆ แต่ต้องปูวัสดุคลุมดินด้วย

2.สำหรับการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับดินลูกรังที่พบได้ในที่ดอนและมีหน้าดินหนาเกิน 15 เซนติเมตร ขึ้นไป

3.ในการทำนา ดินลูกรังที่พบในที่ราบหรือที่ราบต่ำที่มีหน้าดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร และมีการระบายน้ำไม่ค่อยดีในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังแฉะเป็นระยะเวลานาน ควรใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าวและมีการพิ่มการใส่ปุ๋ยซึ่งจะทำให้ข้าวมีผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

4.สำหรับการปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว ดินลูกรังจะไม่จับกันเป็นชั้นแน่นมากนัก สามารถปลูกไม้ผลและไม้โตเร็วได้ เช่น ยูคาลิปตัส มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม กระถินต่างๆ สะเดา น้อยหน่า พุทรา ขี้เหล็กบ้าน และไผ่ ส่วนยางพาราสามารถปลูกได้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนมากกว่า 1,800 มิลลิเมตร ในแต่ละปี

เทคนิคการปรับปรุงบำรุงดินลูกรังเพื่อปลูกพืชเเละเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับไร่นาสวน

1.แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตรา 2-4 ตัน/ไร่ แล้วทำการคลุกเคล้ากับดินในแปลงปลูกพืช และในบริเวณหลุมปลูกไม้ผล โดยเฉลี่ย 25-50 กิโลกรัม/หลุม

2.ทำการการไถกลบฟางข้าวและรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์แบบน้ำหรือฮอร์โมนต่างๆ ในอัตรา 4ลิตร/ไร่ ทำการหมักดินหมักทิ้งไว้เพื่อให้ฟางย่อยสลายลงสู่ดินเร็วขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดิน

3.ทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า แล้วไถกลบลงดินในช่วงที่ออกดอก เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและทำให้ดินร่วนซุยอากาศถ่ายเทดี การระบายน้ำได้ดี ดินมีความอุดมสมบรูณ์เพิ่มขึ้น เพื่อเหมาะกับการปลูกพืชชนิดอื่นต่อไป

ใครมีที่ดินที่เต็มไปด้วยดินลูกรังไม่ต้องหมดหวังไปค่ะ ลองแก้ตามวิธี รับรองว่าทำเกษตรได้ดีไม่แพ้ที่ดินอุดมสบูรณ์เลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : กลุ่มงานขยายผล ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เรียบเรียงข้อมูล : Postnoname

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *