ความสุขหลังเกษียณ ตามหลักเศรษกิจพอเพียงของในหลวง

ความสุขหลังเกษียณ ตามหลักเศรษกิจพอเพียงของในหลวง

ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่9 เป็นที่แน่นอนแล้วว่ามีประสิทธิภาพและส่งผลดีมากมายมหาศาลแก่เกษตรกรเพียงใด จึงอยากเชิญชวนให้ท่านที่สนใจอยากทำการเกษตรลองศึกษาแนวคิดอันมีค่ายิ่งนี้ดูรับรองว่าเกิดประโยชน์มากมายกับตัวท่านแน่นอนค่ะ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วนดังนี้

1. กรอบแนวความคิด

เป็นการชี้แนะแนวทางในการดำรงชีวิตอยู่ เป็นการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายปฏิบัติตนเองให้อยู่ในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากการใช้ชีวิตแบบสมัยสังคมสมัยก่อน เป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยมีการเน้นมุ่งให้รอดพ้นจาก ภั ย พิ บั ติ และ วิ ก ฤ ต ต่างๆและเป็นการสร้างความมั่นคงและสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาได้

2. คุณลักษณะ

ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในประชาชนทุกระดับและจะต้องเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ทั้งนี้ได้รับการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนอีกด้วย

3. คำนิยาม

ประกอบผสมด้วยตาม 3 คุณลักษณะดังนี้

ความพอประมาณ ซึ่งความพอประมาณนี้ก็คือความพอดีที่ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปและจะไม่ต้องบิดเบือนทั้งตัวเองและผู้อื่น

ความมีเหตุมีผล ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงของตัวเองจะต้องเป็นไปอย่างความมีเหตุมีผลโดยคิดจากการหาสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องของตัวเองอยู่ตลอดคำนึงถึงผลที่จะคาดว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากการกระทำของตัวเองในการกระทำอย่างนั้นโดยต้องคิดอย่างรอบคอบ

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตัวเอง ซึ่งหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆของด้านเศรษฐกิจหรืออะไรก็ตามที่จะเกิดขึ้นได้ซึ่งคนเหล่านั้นจะต้องนึกถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆเรานั้นไม่ว่าจะเป็นทั้งอนาคตอันใกล้หรือไกลก็ตาม

4. เงื่อนไขต่างๆ

ซึ่งการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ความพอเพียงนั้นจะต้องอาศัยความรู้และความคุณธรรมดังนี้

เงื่อนไขความรู้ มีความรอบคอบในความรู้ต่างๆทั้งวิชาการหรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบด้านด้วยความรอบคอบนี้จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาประกอบกัน มีทั้งที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนอย่างระมัดระวังและปฏิบัติการเป็นขั้นตอน

เงื่อนไขคุณธรรม มีการสร้างความตระหนักในคุณธรรมอีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทนและความเพียรโดยใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตของตัวเอง

5. แนวทางปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะได้รับ

ซึ่งผลเหล่านี้คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดพัฒนาการสมบูรณ์และยั่งยืนมากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งยังต้องปรับตัวเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังมีการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ๆทุกวัน เพื่อความรู้ให้กับตัวเองอยู่เสมอด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล : hunsa.siamtodaynews

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *