เผยวิธีทำ EM Ball ช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อ
EM Ball หรือ EM ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยยึดหลักการคือใช้เทคนิคทางชีวภาพเพื่อปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ประโยชน์จาก จุลินทรีย์ในกลุ่มสังเคราะห์แสง อาทิเช่น เพนนิซีเลี่ยม ยีสต์ แลกโตบาซิลัส รา เป็นต้น
การทำ EM Ball เพื่อสำหรับใช้งานในครัวเรือน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
ส่วนที่ 1
– รำ 1 ส่วน
– ดินร่วนหรือดินโคลน 1 ส่วน
– แกลบดิบ 1 ส่วน
ส่วนที่ 2
– กากน้ำตาล 10 ช้อน (ครึ่งแก้ว)
– หัวเชื้อ 10 ช้อน (ครึ่งแก้ว)
– น้ำ 2 ลิตร
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.นำส่วนผสมในส่วนที่ 1 ทั้ง 3 อย่าง แล้วคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน
2.จากนั้นนำส่วนผสมในส่วนที่ 2 ผสมในถังผสมคนให้ส่วนผสมเข้ากันหรือจนกากน้ำตาลละลาย ค่อยๆนำส่วนผสมในส่วนที่2 ค่อยๆเทลงในดินที่ผสมเตรียมไว้ก่อนหน้าแล้ว โดยระมันระวังอย่าให้แฉะชุ่มน้ำ ให้ลองปั้นดูถ้าปั้นเป็นก้อนได้แปลว่าใช้ได้ค่ะ
3.ทำการปั้นดินผสมตามตามขนาดที่ต้องการ (ขนาดที่นิยมคือขนาดประมาณลูกปิงปอง)
4.เมื่อปั้นเสร็จแล้ว ให้นำไปวางไว้ในร่มเป็นระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายตัวและแตกตัวใน EM ball
5.เมื่อเสร็จขั้นตอนทั้งหมดแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เลยค่ะ
ข้อจำกัดของการใช้ EM Ball
EM Ball เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในสภาพแวดล้อม ดังนั้น จุลินทรีย์ที่นำมาทำ EM ball ต้องมีชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่ดี และไม่เสื่อมสภาพ ดังนั้น หัวเชื้อ EM ที่นำมาเป็นหัวเชื้อต้องสดใหม่
วิธีการใช้
บ่อน้ำที่จะใช้ต้องมีน้ำนิ่ง ระยะเวลาการใช้ EM Ball 1 ก้อน ต่อหนึ่งเดือน และปริมาณน้ำต้องไม่เกิน5-10 ลูกบาศก์เมตร
ส่วนการใช้ในน้ำไหล เช่น สถานการณ์น้ำท่วม ต้องใช้ EM Ball จำนวนมากดังนั้น หากน้ำท่วมภายในเขตรั้วบ้านและมีน้ำนิ่ง การเลือกใช้ EM Ball ลงไปเพื่อกำจัดกลิ่นจะซึ่งถือแนวทางที่ดีที่สุด แต่ถ้าจะโยนลงถนนหน้าบ้าน หรืออย่างเช่น บนถนน จะต้องใช้เยอะมากๆ ดังนั้นถ้าจะใช้กับพื้นที่ถนนหน้าบ้านใคร ก็ควรพิจารณานะคะว่า น้ำนั้นไหลแรงแค่ไหน เพราะฉะนั้น ในพื้นที่ ที่มีน้ำไหลในบริเวณกว้าง ควรเลือกวิธี การเติมอากาศ จะดีกว่าค่ะ
ประโยชน์ของEM หรือจุลินทรีย์โดยทั่วไป ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมกันคือ
– ใช้ในการปรับเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
– ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
– ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
ขอบคุณข้อมูลจาก : organicfarmthailand
เรียบเรียงโดย : Postnoname