การทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว เปลี่ยนแปลงผักเป็นสวนสวย เทคนิคง่ายๆเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

การทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว เปลี่ยนแปลงผักเป็นสวนสวย เทคนิคง่ายๆเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

การทำเกษตรในยุคสมัยนี้ เกษตรกรต้องรู้จักปรับตัวให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จะทำเกษตรอย่างเดียวคงยากที่จะรุ่ง แต่ถ้าเราทำเกษตรอยู่แล้ว ดัดแปลง และ เพิ่มไอเดียอีกนิด เปลี่ยนสวนเกษตรเราให้เป็นบ้านสวนโฮมสเตย์เพื่อเพิ่มรายได้ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจใช่ไหม

ในยุคที่ผู้คนชอบการท่องเที่ยว ชอบการถ่ายรูป อัพสเตตัสสวยๆในโลกออนไลน์ ผู้ที่ชื่นชอบความงามในธรรมชาติ ถ้าท่านตอบโจทรย์ตรงนี้ให้คนกลุ่มนี้ได้ การทำสวนโฮมสเตย์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร รู้ไหมว่าว่ารายได้ที่ติดตามมานั้น มีทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าของฝาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนหาได้จากในไร่สวนของเราเอง ทางเพจ วิชาชีวิต จึงได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นขั้นตอนคร่าวๆว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงกันบ้าง

1. สถานที่ ซึ่งหากเรามีสวน หรือไร่อยู่แล้ว ข้อนี้ก็ข้ามไปได้เลยครับ แต่หากยังไม่มีก็ต้องหาซื้อที่ดินที่คิดว่าอยู่ในสภาพที่ทำเป็นรีสอร์ทได้ ทะเล ภูเขา เขื่อน แม่น้ำ ฯ เหมาสำหรับทำเกษตรแทรกลงไปสำหรับการเดินทางไม่ควรไกลจากแหล่งชุมชนนัก และมีนักท่องเที่ยวผ่านไปผ่านมาพอสมควร ระหว่างนี้อาจค่อย ๆ ผ่อนไป

2. ทำผังคร่าว ๆ ว่าจะมีห้องพักกี่ห้อง อะไรตรงไหน มีกิจกรรมอะไรบ้างในที่ (ตามความฝัน) แล้วก็ลงมือปลูกต้นไม้ในส่วนที่เหลือ เอาไม้ป่าพื้นถิ่นนั้นแหละดี เพราะไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องห่วงเรื่องเพลี้ยกระสอบจะมาขโมยพืชผลไป อาจเป็น สัก มะค่า ประดู พยุง พยอม ตะแบก สาธร หว้า สะเดา ไทร มะหาด ไข่เน่า ฯลฯ ควรมีพวกตะขบ มะขามเทศ กล้วย เพื่อเรียกนกด้วย อีก 10-20 ปี มันจะเป็นป่าที่สวยงาม ข้อสำคัญช่วงแรกนี้ไม่ต้องจ้างคนเฝ้าสวนก็ได้ เพราะเราทำสวนอยู่แล้ว เพี่ยงแค่จัดระบบระเบียบให้มีความสะอาดตา และมีจุดขาย เช่นสวนผลไม้ สวนผัก ที่สามารถให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพได้

3. หากมีเงินจ้างแมคโครมาขุดสระน้ำไว้ก็ดี (ขายดินที่ขุดเอาเงินมาเป็นค่าขุดได้ยิ่งดี) เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง เพื่อให้มีนกมีปลามาอาศัย และชาวบ้านแถวนั้นยังอาจได้พึ่งพา ฝากผีฝากไข้ให้ช่วยดูแลที่

4. เสาร์อาทิตย์นึกสนุกก็ชวนเพื่อนขับรถมาหา เอากล้าไม้มาปลูก เอาลูกปลามาปล่อย มาถางหญ้าบ้าง (ถ้าต้นไม้โตแล้วร่มเงาจะทำให้ไม่มีหญ้าครับ) มาลองตั้งเตนท์แคมป์ปิ้ง ชวนพรรคพวกมาถ่ายนก ถ่ายแมลง ( การที่มีผู้คนมาถ่ายรูปอัพลงโซเชียลบ่อยๆ เป็นการเรียกแขก และ โฆษณาไปในตัว ถ้าผู้ที่เคยมาเข้าพักประทับใจก็จะเกิดการแนะนำแบบปากต่อปาก ทำให้มีลูกค้าเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ) ฯลฯ ข้อนี้จะทำให้เราเริ่มได้แขกจากคำแนะในของเพื่อนๆ

5. ข้อสำคัญพยามยามอย่าใช้เงินกู้ ใช้เงินเก็บ เพราะถึงโครงการรีสอร์ทไม่เวิค คุณก็ยังมีสวนเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงดูตัวเองได้ จนตายครับ ไม่ถูกแบงค์ยึดหมดเนื้อหมดตัว อย่างที่สวนตรีแอนด์โฮมสเตย์ เจ้าของลงมือทำเอง โดยเริ่มจาก เล็กๆ น้อยๆ ทำไปทีละส่วน ด้วยวัสดุจากธรรมชาตืที่หาได้ในท้องถิ่น ทำให้ช่วยลดภาระในเรื่องต้นทุนได้มากทีเดียว

6. ที่พักไม่ต้องเริ่ดหรู แค่สะดวกสบายพอสำหรับ 1-2 คืน ที่สำคัญคือห้องน้ำห้องท่าสำหรับแขก ซึ่งเรื่องนี้ช่วยเพิ่มคะแนนคอมเม้นจากแขกหลายๆคนครับว่าถึงแม้ห้องจะเล็กหน่อย ไม่มีแอร์ แต่ก็สบายดีได้บรรยากาศแบบไร่สวน ได้สูดอากาศยามเช้า ซึ่งนี่เป็นจุดขายครับ

7.อาหารที่มาจากสวนของเราเอง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ ปลา ผัก ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในการนำมาทำอาหารให้ลูกค้า เนื่องจากเราขายความเป็นสวนปลอดสารพิษลูกค้าแม้จะได้กินอาหารที่ไม่ได้ดีมากระดับโรงแรมแต่ก็ชมเป็นเสียงเดียวกันว่ารับรู้ถึงรสชาติของผักสดๆ เนื้อปลาใหม่ๆ และที่สำคัญดีต่อสุขภาพของพวกเขา ซึ่งนั่นเป็นการเติมเต็มวันพักผ่อนให้พวกเขาได้เป็นอย่างดี

และนี่คือตัวอย่างความสำเร็จ ในการทำสวนเกษตรเป็นโฮมสเตย์ ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ และเรียนรู้วิถีชีวิตการเป็นเกษตรกร

ตัวอย่างจากบ้านสวนตรีโฮมสเตย์

แปลงผักเล็กๆ ข้างเถียงนาน้อย รอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่

แปลงผักริมน้ำก็ดูสวยดี

สะพานไม้ไผ่ของบ้านสวนตรีโฮมแอนด์สเตย์ สวยงามมาก

นั่งจิบกาแฟและขนมปังริมน้ำชิลๆ ในช่วงเช้า

สะพานไม้ไผ่นี้ดูเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสวนตรีโฮมแอนด์สเตย์ไปซะแล้ว

อยู่อย่างพอเพียงอย่างแท้จริง

โต๊ะกินข้าวที่เห็นวิวป่าไม้สีเขียวไกลสุดลูกหูลูกตา

เปลริมสวน นอนรับลงธรรมชาติ ชมนกชมไม้ชิลๆ

ตัวอย่างจากบ้านไร่ไออรุณ

ต้องยอมรับเลยว่า บ้านไร่ไออรุณ มีมุมถ่ายรูปสวยๆมากมายจริงๆ

แปลงผักเขียว สวย ดูแล้วสดชื่นมาก

เปิดหน้าต่างออกมาก็เห็นแปลงผักสวยๆอยู่ตรงหน้า

บรรยากาศดีๆ มีหมอกลงยามเช้า หาดูได้ที่บ้านไร่ไออรุณ

ดูแล้วก็น่าลองไปสัมผัสบรรยากาศแบบนี้สักครั้งในชีวิต หากใครที่ชอบธรรมชาติต้องห้ามพลาดเด็ดขาด

คลิป

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สวนตรีแอนด์โฮมสเตย์ , บ้านไร่ ไออรุณ
เรียบเรียงโดย www.postnoname.com , เพจ วิชาชีวิต

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *