การปลูกตำลึงเชิงการค้า รายได้งามลูกค้านิยมบริโภค ขายง่าย โตเร็ว

การปลูกตำลึงเชิงการค้า รายได้งามลูกค้านิยมบริโภค ขายง่าย โตเร็ว

นายบุญลือ นัยเนตร อายุ 60 ปี ประกอบอาชีพปลูกผักตำลึงตัดยอดจำหน่าย บนพื้นที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน ลุงบุญลือเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วก่อนที่จะมาปลูกตำลึง ได้ทำการเกษตรด้านอื่นมาแล้วหลายอย่าง เช่น ปลูกข้าวโพดหวาน เลี้ยงปลาแรดในกระชัง และปลูกมะเขือ แต่ว่าทุกอย่างที่ทำนั้นต้นทุนสูงไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยา หรือสารเคมีตัวอื่นๆ

โดยเมื่อก่อนนั้นก็ปลูกตำลึงด้วยเช่นเดียวกันแต่ลักษณะการปลูกจะเป็นการปลูกแซมเอาไว้ แต่รายรับที่ได้จากการปลูกตำลึงแซมแถว กลับกลายมาเป็นต้นทุนในการซื้อปุ๋ยบำรุงพืชตัวอื่นได้อย่างดี จึงเริ่มคิดได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว เราก็สามารถปลูกตำลึงไว้เป็นพืชหลัก สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างดี จึงเริ่มปลูกตำลึงจำหน่ายเชิงการค้าอย่างจริงจังมาจนถึงปัจจุบัน ดังมีวิธีการจัดการและดูแลรักษา ดังนี้

วิธีการปลูกตำลึงเชิงการค้า

– ยกร่องไม่ต้องกว้างมากระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร

– ทำค้าง ด้วยไม้ไผ่ขัด ความสูงที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตำลึงอยู่ที่ 1.20 เมตร

– ใช้มูลสัตว์ผสมกับดินในแนวร่อง เพื่อเป็นการเตรียมดิน

– รดน้ำดินให้ชุ่ม แล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ตำลึงที่ไปตัดมาจากตามป่า ฝังเป็นแนวยาวตามร่อง ใช้ดินกลบหัวท้าย ตรงกลางนั้นให้อยู่เหนือดิน

หรืออีกหนึ่งวิธีคือ ปักกิ่งพันธุ์ลงไปตามร่อง การให้น้ำ ถ้าไม่ใช่ฤดูฝน จะต้องให้น้ำ 2-3 วันครั้ง โดยปล่อยน้ำลงตามร่องให้เต็มแล้วซึมลงไปในดิน การเก็บตำลึง จะต้องทำการเก็บแต่เช้า เวลาประมาณ ตี 5 เก็บถึง 3 โมงเช้า ความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกำด้วยกาบกล้วย 1 กำ จะมีน้ำหนัก 4 ขีด ขายส่งราคากำละ 3 – 5 บาทต่อกำ (ถ้าเก็บตอนสาย เถาหนวดตำลึงจะดำไม่น่ารับประทาน)

ป้องกันโรคและแมลง จะใช้น้ำส้มควันไม้ และปุ๋ยน้ำชีวภาพในการฉีดพ่น 2 อาทิตย์ 1 ครั้ง การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยยูเรีย พรมบางๆ เดือนละ 2 ครั้ง ส่วนเรื่องยาฆ่าหญ้านั้นจะไม่ใช้เพราะ ตำลึงเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสารเคมีเกือบทุกประเภท ถ้าใช้จะตาย หรือใบกรอบเก็บไปจำหน่ายไม่ได้

อุปสรรคปัญหา ในเรื่องของการเก็บยอดตำลึง

เก็บได้ไม่หมดเพราะเจริญเติบโตเร็ว ซึ่งในหนึ่งวันลุงบุญลือสามารถเก็บได้ประมาณ 100 กำต่อวันเพราะใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก คุญบุญลือ นัยเนตร เกษตรกร จ.อุทัยธานี ปลูกตำลึงบนพื้นที่ 1.5 ไร่ ด้วยแรงงานคนในครอบครัว สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 ร้อยบาทต่อวัน

ลักษณะแปลงปลูกตำลึงและการขึ้นค้าง

โดยคุญบุญลือใช้ความสูงที่ 1.20 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่เหมาะสมต่อการจัดการในด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นเรื่องของการเก็บเกี่ยวเป็นหลัก

**ในการเก็บเกี่ยวตำลึงควรจะเก็บแต่เช้าตรู่ เนื่องจากจะทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว หนวด/เถายังไม่เลื้อยพันกัน ลักษณะการปลูกกิ่งพันธุ์แนวตั้ง จะทำให้ประหยัดกิ่งพันธุ์ได้มากกว่าการปักชำกิ่งตามแนวนอน ลักษณะยอดตำลึงที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวในวันรุ่งขึ้น โดยการเก็บเกี่ยวยอดตำลึงเพื่อมัดกำขาย จะต้องเด็ดยอดที่ความยาวประมาณ 50 ซม. ถึงจะเข้ากำได้สวยงาม ลักษณะของต้นตำลึงตัวผู้ ใบจะมีลักษณะเหง้าลงลึกกว่าใบตัวเมีย ซึ่งไม่ควรเก็บเกี่ยวไปจำหน่ายหรือรับประทาน เพราะจะมีผลทำให้ท้องเสียได้ ส่วนใบที่มีลักษณะกลมมากกว่านั้นจะเป็นใบตัวเมีย และเป็นที่ต้องการของตลาด

อุปกรณ์ในการเข้ากำตำลึง

ได้แก่ ตอก,หยวกกล้วยที่ตัดแต่งให้มีความกว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 50 ซม. เป็นวัสดุในการเข้ากำ ในการเข้ากำจะใช้น้ำหนัก 4 ขีด/กำ

ตำลึงมีการขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ

1. เพาะเมล็ด

2. ปักชำด้วยเถา

การเพาะเมล็ดมีวิธีการดังนี้

– เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำ ผลตำลึงแก่สีแดงแกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือ ใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะ เพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้

– เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ 5 ซม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง(เนื่องจากตำลึงเป็นไม้เลื้อย จำเป็นต้องใช้ค้าง เพื่อให้ตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อ รับแสงแดด ) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะจะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้น ปัก เป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนง ก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลยทีเดียว

– ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะ สังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกิน เพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง การปักชำด้วยเถา การปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ เนื่องจาก ตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด

วิธีการปักชำ

ให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 – 20 ซม. ปักชำในหลุมปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว( ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะ เมล็ด ) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหารได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ตำลึงแตกยอดใหม่ทยอยออกมาตลอดปี ต้องหมั่น เก็บมาบริโภคอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันให้ใส่ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มเติมอาหารในดิน ประมาณเดือนละครั้ง ต้องหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอในหน้าแล้งและหน้าหนาว

ส่วนหน้าฝนจะเว้นได้บ้างแต่ต้องช่วยรดน้ำในขณะที่ฝนทิ้งช่วง การขยายพันธุ์ เมล็ด ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม

แหล่งอ้างอิง : http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php…                              http://www.monmai.com/ ตำลึง/ http://xn--12cmh8bbc4da0bh2bc2a3d5edobk6sg.com

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *