อยากเลี้ยงสัตว์ปีก เป็ด ไก่ หาซื้อพันธุ์ได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ ทางนี้มีคำตอบ…!!

อยากเลี้ยงสัตว์ปีก เป็ด ไก่ หาซื้อพันธุ์ได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ ทางนี้มีคำตอบ…!!

ทุกครั้งที่เราได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ จะมีผู้อ่าน และ ผู้ที่สวนใจสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ว่าจะหาซื้อ ลูกเป็ด ลูกไก่ พันธุ์สัตว์ปีกได้จากที่ไหน

วันนี้ทางเพจ วิชาชีวิต จึงได้รวบรวมข้อมูลแหล่งจำหน่าย ลูกเป็ด ลูกไก่ ห่าน รวมทั้งราคาจำหน่าย และสถานที่จำหน่าย จากกลุ่มวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ มาเป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจจะเลี้ยงได้ลองสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกันดู

ราคาจำหน่ายพันธุ์สัตว์ปีกในปัจจุบัน 

ไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 15 บาท

ไก่ลูกผสมกรมปศุสัตว์ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 12 บาท

ไก่พื้นเมือง อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 12 บาท

ไก่ลูกผสม อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 10 บาท

ไก่ไข่ เพศผู้ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 2 บาท

ไก่ไข่ เพศเมีย อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 16 บาท

ไก่ไข่ คละเพศ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 12 บาท

ไก่งวง อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 35 บาท

เป็ดเทศ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 25 บาท

เป็ดเทศท่าพระ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 20 บาท

เป็ดเนื้อ เพศผู้ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 20 บาท

เป็ดเนื้อ เพศเมีย อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 25 บาท

เป็ดไข่ เพศผู้ อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 1 บาท

เป็ดไข่ เพศเมีย อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 10 บาท

ห่าน อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 35 บาท

นกกระทา อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตัวละ 2 บาท

นกกระจอกเทศ อายุไม่เกิน 3 เดือน ตัวละ 5,500 บาท

นกอีมู อายุไม่เกิน 3 เดือน ตัวละ 3,500 บาท

หน่วยงานที่จำหน่ายพันธุ์ และ สอบถามข้อมูลได้

1.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จ.สระบุรี โทร 0-3635-7319 , 0-3635-7208 , 0-3632-7208

2.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โทร 0-3728-8154

3.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สระแก้ว โทร 0-3723-1806

4.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์จันทบุรี โทร 0-3941-1481

5.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ โทร 0-4451-2828

6.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง จ.ลพบุรี โทร 0-3646-1600

7.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ โทร 0-4460-5969

8.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ โทร 0-4561-2507

9.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์อุบลราชธานี โทร 0-4525-9952 , 0-4525-9996

10.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จ.ขอนแก่น โทร 0-4326-1194

11.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครพนม โทร 0-4258-1108

12.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลย โทร 0-4284-1517

13.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร โทร 0-4275-6013

14. สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์อุดรธานี โทร 0-4225-0710 , 0-4224-4297

15. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ โทร 0-5331-1836

16.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน โทร 0-5368-4031

17.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา โทร 0-5446-6080

18.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก โทร 0-5589-0712, 0-5554-0603

19.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พิษณุโลก โทร 0-5526-8028

20.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครสวรรค์ โทร 0-5623-7256

21.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จ.ราชบุรี โทร 0-3222-8418

22.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี โทร 0-3544-6216

23.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี โทร 0-7727-4250

24.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์กระบี่ โทร 0-7561-8053

25.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช โทร 0-7535-4921 , 0-7535-4933

26.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา โทร 0-7320-3218

27.สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เทพา โทร 0-7431-8041

เพิ่มเติมข้อมูล สายพันธุ์ไก่ไข่แต่ละพันธุ์ ข้อดี-ข้อเสีย

1. ไก่ไข่พันธุ์ “โร๊ดไอส์แลนด์แดง” หรือ “ไก่โร๊ด”

เป็นไก่พันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งไข่ ขนมีสีน้ำตาล ผิวหนังสีเหลือง เริ่มให้ไข่เมื่ออายุได้ครึ่งปี ให้ไข่ดกปีละประมาณ 280-300 ฟอง รูปร่างค้อนข้างยาวและลึก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่เพศผู้จะหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม สมัยก่อนนิยมใช้เป็นไก่ไข่ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นไก่พันธุ์ผสมโดย “ใช้ไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรดเพศผู้” ผสมกับ “ไก่บาร์พลีมัทร็อคเพศเมีย” ลูกผสมที่ได้เป็นข้อดีของ 2 สายพันธุ์คือ ให้ไข่ดกเหมือนไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรด ไข่มีขนาดใหญ่เหมือนบาร์พลีมัทร็อค

2. ไก่ไข่พันธุ์ “บาร์พลีมัธร็อค” หรือ “ไก่บาร์”

เป็นไก่พันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งไข่ ผิวหนังสีเหลือง รูปร่างลักษณะ ขนสีบาร์ คือมีสีดำสลับกับขาวตามขวางของขน หงอนจักร ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน ให้ไข่ประมาณ 250 ฟอง/ปี เป็นไก่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน ให้ไข่ขนาดใหญ่ ปัจจุบันนิยมใช้ไก่บาร์พลีมัทร็อคเพศเมียผสมกับไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรดเพศผู้ หรือที่รู้จักกันมานานในชื่อว่า “ฮาร์โก้” ซึ่งเป็นไก่ไข่ดกและฟองใหญ่ ให้ไข่ได้มากกว่า 280 ฟอง/ปี

3. ไก่ไข่พันธุ์ “เล็กฮอร์นขาว”

เป็นไก่ไข่พันธุ์แท้ จัดเป็นไก่พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน ปัจจุบันนิยมผสมข้ามสายพันธุ์ตั้งแต่สองสายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อเพิ่มผลิตในการออกไข่ เพราะผสมเอาข้อดีของแต่ละสายพันธุ์ออกมา

รูปร่างลักษณะ มีขนาดเล็ก ขนสีขาว ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว มีความทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี เลี้ยงง่าย แข็งแรงทนทานกว่าไก่ไข่พันธุ์ทั่วไป ทนร้อนได้ดี เหมาะสำหรับเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิร้อน เรื่มให้ไข่เมื่อเมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง -5 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง แต่จะได้ไข่ไก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก

4. ไก่ไข่พันธุ์ “ไทยบาร์”

เป็นไก่พันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ศึกษาวิจัย และ พัฒนาต่อยอด มาจากพันธุ์บาร์พลีมัธร็อค ให้ไข่ดก สามารถผลิตไข่ได้ 250-280 ฟอง/ปี หรือใกล้เคียงกับพันธุ์บาร์พลีมัธร็อค เมื่อผสมข้ามพันธุ์ กับไก่พันธุ์โร๊ดไอแลนด์เรด ลูกผสมที่ได้ หรือที่เรียกกันว่า “ไก่ไข่สายพันธุ์กรมปศุสัตว์” เป็นไก่พันธุ์ไข่ได้ดีเลิศไข่มากกว่า 290 ฟองต่อปี

ไก่ไข่ลูกผสม

เป็นการนำไก่ไข่พันธุ์แท้มาผสมกัน เพื่อ นำเอาข้อดีของในแต่ละสายพันธุ์มาไว้ในพันธุ์ลูกผสม ดังนั้นไก่ไข่พันธุ์ลูกผสมจึงเป็นการเพิ่มข้อดี และ ลดข้อเสียของในแต่ละสายพันธุ์ออกไป

ได้แก่ ฮาร์โก้หรือแบล็คร็อค เป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ไก่ที่ให้ไข่ดก เพื่อเป็นการผลิตไข่ในราคาที่ถูกที่สุด ส่วนมากแล้วการผสมไก่ประเภทนี้ลูกผสมที่ได้จะมีลักษณะบางอย่างที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะความทนทานต่อโรค ไก่ลูกผสมที่ยังมีผู้นิยมเลี้ยงอยู่บ้าง ได้แก่ ไก่ลูกผสมระหว่างพ่อโร๊ด+แม่บาร์, พ่อบาร์+แม่โร๊ด, เล็กฮอร์น+โร๊ด, โร๊ด+ไฮบริด และลูกผสม 3 สายเลือด คือ ลูกตัวเมียที่ได้จากลูกผสมพ่อโร๊ด+แม่บาร์ นำไปผสมกับพ่อไก่อู ลูกผสมที่ได้จะมีเนื้อดี โตเร็ว และไข่ดีพอสมควร เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงเป็นรายได้เสริม

ไก่ไข่ ”ฮาร์โก้” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “แบล็คร็อค” เป็นไก่ไข่พันธุ์ผสมระหว่างโร๊ดไอสแลนด์แดง และบาร์พลีมัทร็อค ลูกผสมที่ได้จะมีลักษณะขนสีดำ ปากและขาดำ สามารถคัดแยกเพศได้ตั้งแต่อายุ 1 วัน โดยดูจุดสีขาวบนหัวลูกไก่ ลักษณะตอนโตเป็นไก่ที่มีสีขนมันวาวสวยงามมาก ตัวใหญ่ หน้าตาดุ การให้ไข่จะเริ่มออกไข่ฟองแรกประมาณ 5-6 เดือน ให้ไข่ดกพิเศษ ฟองใหญ่ เปลือกไข่สีสวย ส่วนการต่อยอดสามารถนำไปทำไก่สามสายพันธุ์กรมปศุสัตว์ ไก่สี่สาย ไก่ห้าสาย และไก่เนื้อได้

เรียบเรียงโดย : www.postnoname.com

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *