เครื่องสูบน้ำ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้ไฟฟ้า เงินเหลือเก็บเต็มๆ

เครื่องสูบน้ำ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้ไฟฟ้า เงินเหลือเก็บเต็มๆ

ไอเดียเครื่องสูบน้ำที่ว่านี้ได้รับการเผยแพร่มาจาก อ.ดร.จิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี ภาควิชา วิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยเครื่องสูบน้ำที่ว่านี้คือ เครื่องตะบันน้ำ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมาอย่างช้านานในต่างประเทศ แต่ในบ้านเรายังไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าไหร่นัก

เครื่องตะบันน้ำคืออะไร?

เครื่องตะบันน้ำ(Hydraulic ram pump)คือ ปั๊มน้ำ ที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าในการทำงาน ราคาไม่แพงสูงและติดตั้งง่าย สามารถทำได้เองและไม่สร้างมลภาวะ ช่วยลดภาวะโลกร้อนสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หลักการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ

เริ่มต้นจากน้ำจากแหล่งน้ำไหลเข้าสู่ท่อรับน้ำไปยังเครื่อง แล้วผ่านวาล์วทิ้งน้ำจนกระทั่งความเร็วของการไหลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดแรงยกวาล์วทิ้งน้ำให้ปิดลง ซึ่งการปิดวาล์วทิ้งน้ำนี้จะส่งผลก่อให้เกิดความดันจำนวนมากในตัวเครื่อง ทำให้วาล์วกันน้ำกลับถูกยกขึ้น และในขณะเดียวกันน้ำส่วนหนึ่งจะถูกอัดเข้าไปเก็บในถังแรงดันและเข้าสู่ท่อจ่ายน้ำขึ้นไปยังถังพักน้ำต่อไป

การติดตั้งเครื่องตะบันน้ำ

จุดที่ติดตั้งเครื่องตะบันน้ำควรอยู่ต่ำกว่าผิวน้ำอย่างน้อย 1.5-2 เมตร และท่อที่ส่งน้ำมายังเครื่องต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 15 เมตร แรงดันน้ำถึงจะเพียงพอทำให้ระบบดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาการสูบน้ำของเครื่องตะบันให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่าระดับแรงดันตั้งต้นถึง 10 เท่า นั่นคือ ถ้ามีแรงดันน้ำเริ่มต้นที่ 2 เมตร จะสูบน้ำไปใช้ได้สูงกว่าถึง 20 เมตรเลยทีเดียว

พื้นที่เหมาะสมในการใช้

สำหรับพื้นที่ที่เหมาะกบการติดตั้งเครื่องตะบันน้ำ คือ ลำธารหรือบริเวณเชิงเขาที่มีแหล่งน้ำ เช่น น้ำตก ฝาย ทำนบกั้นน้ำ พื้นที่ติดคลองชลประทานหรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น

ข้อจำกัดของเครื่องตะบันน้ำ

การติดตั้งอุปกรณ์ของเครื่องตะบันน้ำค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน และประสิทธิภาพการสูบน้ำค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องสูบน้ำที่ใช้เครื่องยนต์หรือมอเตอร์

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของเกษตรกรทีเดียวนะคะในการต่อสู้กับภัยแล้ง ท่านใดที่สนใจลองศึกษาข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจให้เหมาะสมกับไร่นาสวนของทุกท่านค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : Boon Sak

เรียบเรียงข้อมูล : Postnoname

Facebook Comments

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *